ต้นเทพพาโร ทำตู้-เตียง ทำเป็นยาหอม ขับลม มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ
เทพทาโรเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ ใบมีสีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้นสีเทาอมเขียวหรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น เมื่อถากเปลือกออกจะมีกลิ่นหอม กิ่งมีลักษณะอ่อนเรียว เกลี้ยงและมักมีคราบขาว ใบเป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นใบรูปรีแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและกลม ยาวประมาณ 7 – 20 ซม. ก้านใบเรียวเล็ก 2.5 – 3.5 ซม. ดอกออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตามปลายกิ่งเป็นกระจุกยาว 2.5 – 7.5 ซม. ก้านช่อดอกจะเรียวยาวและเล็กมาก ผลมีขนาดเล็กและกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 มม. ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3 – 5 ซม. ลักษณะเนื้อไม้มีสีเทาแกมน้ำตาล มีกลุ่มหอมฉุน มีริ้วสีเขียวแกมเหลือง เนื้อไม้เป็นมันเลื่อม เสี้ยนตรง หรือสับสน เป็นคลื่นบ้างเล็กน้อย เหนียว แข็งพอประมาณ เลื่อย ไส้กบ ตบแต่งง่าย สารสำคัญในเนื้อไม้ จะพบ d – camphor ที่ใช้แทน sassafras ได้ดีให้น้ำมันที่มีสารหอม คือ safrol และ cinnamic aldehyde และยังพบ safrol ในเปลือกต้นและใบ การขยายพันธุ์ไม้เทพทาโรที่นิยมปฏิบัติกันคือ การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ
ต้นเทพทาโรเป็นไม้หอมที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ จึงสมควรที่จะปลูกสร้างสวนป่าไม้เทพทาโรขึ้นในที่ที่มีความชุ่มชื่นเพียงพอ เพราะเทพทาโรจะชอบขึ้นอยู่บนเขาในป่าดงดิบ พบมากที่สุดทางภาคใต้ อาจจะปลูกใต้ร่มไม้อื่นหรือปลูกเป็นไม้แซมสวนป่า น่าจะเจริญเติบโตดีกว่าปลูกเป็นไม้เบิกนำในที่โล่งแจ้ง
ชื่อพฤกษศาสตร์
Cinnamomum parthenoxylon (Jack) Meisn. วงศ์ Lauraceae
ชื่อพื้นเมือง
จวง จวงหอม (ภาคใต้) จะไค้ต้น จะไค้หอม (ภาคเหนือ) ตะไคร้ต้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) เทพทาโร (ภาคกลาง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี) พลูต้นขาว (เชียงใหม่)
ลักษณะทั่วไป
– ไม้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ เรือนยอดเป็นพุ่มกลับทึบ สีเขียวเข้ม ลำต้นเรียบไม่มีพูพอน เปลือกต้นสีเทาอมเขียวหรืออมน้ำตาล ค่อนข้างเรียบ แตกเป็นร่องยาวตามลำต้น เมื่อภากเปลือกออกจะมีกลิ่นหอม กิ่งมีลักษณะอ่อนเรียว เกลี้ยวและมักคราบขาว
– ใบ เป็นชนิดใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน เป็นใบรูปรีแกมรูปไข่ หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาด เนื้อใบค่อนข้างหนา ผิวใบเกลี้ยง ท้องใบมีคราบขาว ปลายใบแหลม โคนใบแหลมและกลม ยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตร ก้านใบเรียวเล็ก 2.5-3.5 เซนติเมตร
– ดอก ออกเป็นช่อ สีขาวหรือเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม ออกดอกตามปลายกิ่งเป็นกระจุกยาว 2.5-7.5 เซนติเมตร ก้านช่อดอกจะเรียวยาวและเล็กมาก
– ผล มีขนาดเล็กและกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 มิลลิเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีม่วงดำ ก้านผลเรียว ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร
การกระจาย
มีเขตการกระจายพันธุ์ในแถบเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียเขตร้อน ในประเทศไทยพบทั่วทุกภาคของประเทศ ขึ้นอยู่กระจัดกระจายเป็นกลุ่ม ตั้งแต่ที่ราบเชิงเขาจนถึงบนเขาสูงในป่าดิบชื้นที่มีสภาพดินร่วนปนทราย น้ำไม่ท่วมขัง พบการกระจายพันธุ์หนาแน่นในภาคใต้
ประโยชน์
ใช้ปรุงเป็นยาหอมแก้ลม จุกเสียดแน่น แน่นเฟ้อ แก้อาการปวดท้อง ขับผายลมได้ดี ขับลมในลำไส้และกระเพาะอาหาร, เนื้อไม้สีขาว จะมีกลิ่นหอมฉุนเหมือนกลิ่นการบูร อาจกลั่นเอาน้ำมันระเหยจากเนื้อไม้ ใบมีกลิ่นหอมใช้เป็นเครื่องเทศ, เมล็ดของเทพทาโร จะให้น้ำมัน ใช้เป็นยาทาถูนวด แก้ปวด, ไม้ ใช้ในการแกะสลักบางอย่าง ทำเตียงนอน ทำตู้ และหีบใส่เสื้อผ้า