การป้องกันและกำจัดโรคปลา ‘โรคจากปรสิตภายนอก’
โรคจุดขาวปลา เป็นโปรโตชัวชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังปลาเป็นอาหาร โรคนี้มีลักษณะเด่น คือ มีนิวเคลียสเป็นรูปเกือกม้าขนาดใหญ่ อาศัยอยู่ใต้ผิวหนังของปลา ปลาที่เป็นโรคจะมีจุดสีขาวขุ่นขนาดเท่าปลายเข็มมุดเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วลำตัวและครีบปลา
ชนิดที่พบ
– น้ำจืด มีชื่อว่า อิ๊กทีอ๊อฟทีเรียส มัลติฟิลิส (Ichthyopthirirus multifiliis)
– น้ำกร่อย มีชื่อว่า คริปโตคาริออน อิริเทนส์ (Cryptocaryon iritans)
การป้องกันและรักษา
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่ หรือ 25-50 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ต่อปลาขนาดเล็ก
2. เมทิลีนบูล 1-2 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นานติดต่อกันนาน 7 วัน
สาระน่ารู้
1. ก่อนนำปลามาเลี้ยงควรนำมาขังไว้ในที่กักกันก่อน ประมาณ 7-10 วัน เพื่อตรวจดูว่ามีปรสิตติดมาหรือไม่เมื่อแน่ใจว่า ปลาไม่เป็นโรคจีงนำไปเลี้ยงต่อ
2. การป้องกันการแพร่ระบาทของโรคนี้โดยวิธีง่าย ๆ คือ เมื่อปลาเป็นโรคควรย้ายปลาออกจากตู้แล้วนำไปรักษาที่อื่น ใส่ฟอร์มาลิน 100-150 ซีซี ต่อน้ำ 1,000 ลิตร ลงในตู้เดิมทิ้งไว้ 10-12 ชั่วโมง เพื่อกำจัดปรสิตให้หมด แล้วจึงถ่ายน้ำทิ้งไป ทำซ้ำ 2-3 ครั้ง
ที่มา : สำนักงานประมงจังหวัดอุบลราชธานี